ตู้เย็นไม่เย็น เกิดจากสาเหตุใดบ้าง

โดยปกติตู้เย็นจะไม่เสียหายง่ายๆ และ สามารถสร้างความเย็นภายในตู้ได้เป็นสิบๆ ปีหรือ ตลอดอายุการใช้งาน

เพราะสารทำความเย็น หรือ น้ำยาแอร์ ภายในระบบสามารถใช้งานหมุนเวียนกลับไปมา ของเหลวเป็นแก๊ส และแก๊สกลับเป็นของเหลว ซึ่งเป็นกระบวนการในการทำความเย็นที่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง แต่หากตู้เย็นไม่มีความเย็นตามปกติที่เคยเป็น เราจะสามารถสังเกตได้ง่ายๆ ก็คือ

  1. คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน หากคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน เราจะสามารถสังเกตได้โดยเราจะไม่ได้ยินเสียงที่ปกติจะได้ยินอยู่เสมอ เมื่อคอมเพรสเซอร์มีการสตาร์ทการทำงาน และเมื่ออุณหภูมิภายในถึงจุดที่ตั้งค่าไว้ คอมเพรสเซอร์ จึงจะตัดออกจากวงจรเพื่อหยุดการสร้างแรงอัด และจะติดสตาร์ทการทำงานอีกครั้งเมื่ออุณหภูมิสูงเกินกว่าที่ได้ตั้งค่าไว้ โดยหากสาเหตุที่ตู้เย็นไม่เย็นเกิดจากคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน ย่อมจะไม่มีความเย็นเกิดขึ้นเลยในตู้เย็น
  2. สารทำความเย็นหมด สำหรับตู้เย็นทั่วไป หากระบบเดินสารทำความเย็นมีการรั่วไหล หรือไม่มีสารทำความเย็นอยู่ในระบบเลย ระบบจะทำการตัดการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไม่ให้ทำงาน เพราะไม่มีสารทำความเย็นในระบบ ซึ่งสาเหตุนี้ เพียงแค่ทำสุญญากาศและเติมมสารทำความเย็นเข้าไปในระบบใหม่ ก็จะสามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ  แต่ต้อง เลือก เติม น้ำยาแอร์ ราคา ที่ต่าง คือ ชนิดที่ต่างกัน โดยหากตู้เย็นไม่มีระบบการตัดการทำงาน เมื่อไม่มีสารทำความเย็นในระบบ เราอาจจะได้ยินเสียงคอมเพรสเซอร์ทำงานอยู่ แต่มีเสียงที่เบาลงกว่าปกติ และในตู้เย็นจะไม่มีความเย็นเลยแต่อย่างใด
  3. มีน้ำแข็งเกาะที่อีวาโปเรเตอร์มากเกินไป เมื่อมีน้ำแข็งเกาะที่อีวาโปเรเตอร์หรือช่อง Freezer มากเกินไป ทำให้น้ำแข็งดังกล่าวปิดบังช่องถ่ายเทความเย็นไปสู่ส่วนอื่นๆ ของตู้เย็น ทำให้ส่วนอื่นๆ หรือส่วนด้านล่างของช่องแช่อาหารหรือเครื่องดื่มไม่มีความเย็นเกิดขึ้น หรือเย็นไม่เท่าที่ควร ดังนั้นการแก้ปัญหาจะต้องทำการละลายน้ำแข็งที่เกาะอยู่ออกให้หมด เพื่อเปิดทางให้ความเย็นสามารถถ่ายเทสู่ส่วนอื่นๆ ได้สะดวกนั่นเอง
  4. ขอบยางตู้เย็นมีความสำคัญอย่างไร ขอบยางตู้เย็น คือ อุปกรณ์ยึดติดและป้องกันไม่ให้ความร้อนจากภายนอกรั่วซึมเข้าไปภายในตู้เย็นได้
  5. หากขอบยางของตู้เย็นเสื่อมสภาพ ขาดการยืดหยุ่นและยึดเหนี่ยม จะทำให้ความร้อนจากาภายนอกสามารถรั่วซึมและถ่ายเทเข้าไปได้ อย่างที่ได้ทราบกันไปแล้วว่า ความร้อนจะถ่ายเทได้ดีจากอุณหภูมิสูงไปอุณหภูมิต่ำ จึงทำให้ความเย็นตก หรือมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นภายในตู้เย็น อีกทั้งยังส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานหนักในการสร้างแรงอัด เพื่อสร้างความเย็นให้ถึงจุดที่ได้ตั้งค่าไว้ให้ได้ กรณีที่ยางขอบตู้เย็นเสื่อมสภาพและมีความร้อนจากภายนอกรั่วไหลเข้าไปได้ คอมเพรสเซอร์จะทำงานตลอดเวลาไม่ตัดสักที เนื่องจากไม่สามารถทำความเย็นให้เทอร์โมสตัทหรือ T.C ตัดการทำงานตามปกติได้นั่นเอง
  6. นำของที่มีอุณหภูมิสูงเข้าไปแช่ในตู้เย็น การนำอาหารหรือวัตถุดิบ และเครื่องดื่มที่มีความร้อนสะสมอยู่เข้าไปแช่ในตู้เย็น จะทำให้อุณหภูมิภายในสูงขึ้นทั้งระบบทำความเย็นมีการทำงานหนักขึ้น คอมเพรสเซอร์ไม่ยอมตัดเนื่องจากทำความเย็นไม่ถึงจุดที่เทอร์โมสตัทจะทำงาน ดังนั้นหากมีความต้องการจะนำสิ่งของเข้าแช่ตู้เย็น จะต้องทิ้งสิ่งของนั้นไว้ให้เย็นลงในระดับอุณหภูมิห้องเสียก่อน จึงจะสามารถนำเข้าไปแช่ในตู้เย็นได้
  7. วางตู้เย็นชนิดผนังมากเกินไป สำหรับตู้เย็นรุ่นเก่าคอนเดนเซอร์ที่มีอุณหภูมิสูงจะเป็นแผงติดตั้งหลังตู้เย็น ดังนั้นหากวางตู้เย็นให้ด้านหลังชิดผนังมากจนเกินไป จะทำให้การระบายความร้อนออกจากคอนเดนเซอร์เป็นไปอย่างลำบาก ทำให้สารทำความเย็นที่ต้องเปลี่ยนสถานะจากแก๊สกลายเป็นของเหลวที่จุดคอนเดนเซอร์เกิดอุปสรรค ความเย็นภายในตู้ไม่ได้ถึงจุดที่ตั้งค่าไว้ ดังนั้นการวางตู้เย็นจะต้องวางให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อให้เกิดการถ่ายเทความร้อนเป็นไปได้อย่างสะดวกตู้แช่เย็น สำหรับอาหาร

Visits: 4553

facebook น้ำยาแอร์